หน่วยที่ 3


หน่วยที่  การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
ความหมายรูปแบบและชนิดของการสื่อสาร
             คำว่า “Communication” เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า “Communis” แปล ว่า การสร้างอย่างสามัญ การติดต่อสื่อสาร เป็นกระบวนการสำคัญทางสังคมของมนุษย์ มีการนำมาใช้ต่าง ๆ กัน จึงมีผู้ให้ความหมายไว้จำนวนมาก เช่น อริสโตเติ้ล กล่าวว่า การติดต่อสื่อสาร เป็นวิธีการชักจูงใจที่มีอยู่ทุกรูปแบบ
  เอ็ด เวิร์ด  สะเพียร์ การติดต่อสื่อสาร คือการตีความหมายโดยสัญชาตญาณต่อท่าทางที่แสดงเป็นสัญลักษณ์โดยไม่รู้ตัวต่อ ความคิดและพฤติกรรมของวัฒนธรรมของบุคคล
Everett M.Roger & F.Floyd Shoemaker การติดต่อสื่อสาร คือ กระบวนการซึ่งสารถูกส่งจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
ธงชัย  สันติวงษ์ การติดต่อสื่อสาร หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง ความเห็นหรือความรู้สึกระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
วิจิตร  ศรีสะอ้าน การติดต่อสื่อสาร หมายถึง การส่งข่าวสารจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่งหรือจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร กระบวนการในการส่งหรือการถ่ายทอดจะต้องอาศัยช่องทางการติดต่อและสัญลักษณ์ ต่าง ๆ เพื่อให้ถึงผู้รับอย่างรวดเร็วแลถูกต้อง
จากความหมายของการสื่อสารข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า
 การ สื่อสาร คือ กระบวนการที่ผู้ส่งสารพยายามส่งจินตนาการที่อยู่ในรูปแบบของสัญลักษณ์ รูปภาพ ความรู้สึกไปยังผู้รับสารโดยผ่านสื่อหรือช่องทางการสื่อสาร
ความสำคัญของการติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการบริหาร ที่บุคคลหนึ่งพยายามหาช่องทางที่จะทราบความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง มีความสำคัญดังนี้
1. เพื่อให้การวินิฉัยสั่งการเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
2. เพื่อให้เกิดการประสานงานที่ดี
3. เพื่อให้การควบคุมงานได้ผลดียิ่งขึ้นและก่อให้เกิดเอกภาพในการบริหาร
4. เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะและองค์การ
5. สามารถเก็บข้อมูล และข่าวสารเป็นหลักฐานสำหรับการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี
ประเภทของการติดต่อสื่อสาร
แบ่งประเภทโดยการยึดองค์การเป็นหลัก
1. การติดต่อสื่อสารภายใน (Internal Communication) เป็น การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลภายในองค์การเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์ให้บุคลากรในองค์การได้ทราบข่าวสารและความเคลื่อนไหว เพื่อชี้แจง นโยบาย กฎ ระเบียบ ที่กำหนดขึ้นให้เข้าใจตรงกัน
2. การติดต่อสื่อสารภายนอก (External Communication) เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างองค์การกับบุคคลภายนอกองค์การ เพื่อเผยแพร่ข่าวสารให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการขององค์การ
แบ่งตามลักษณะของการปฏิบัติงาน
1. การติดต่อสื่อสารแบบเป็นทางการ หมายถึงการติดต่อสื่อสารที่เป็นระเบียบแบบแผน มีข้อจำกัดวางไว้โดยชัดแจ้ง
2. การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ หมายถึงการติดต่อสื่อสารที่ไม่ได้ดำเนินไปตามระเบียบแบบแผนที่กำหนดไว้
หลักการทั่วไปของการติดต่อสื่อสาร
1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการติดต่อสื่อสารให้ชัดเจน
2. กำหนดแผนหรือวิธีการที่จะใช้ในการติดต่อสื่อสาร
3. กำหนดว่าจะใช้อะไรเป็นสื่อ ในการติดต่อสื่อสาร
4. ตรวจสอบเนื้อหาของข่าวสาร
5. ติดตามผลหรือข้อมูลย้อนกลับ เพื่อทราบและปรับปรุงแก้ไข

องค์ประกอบ และ ช่องทางของการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสาร
ก่อนที่จะกล่าวถึงองค์ประกอบของการสื่อสารขอย้อนกลับไปที่ คำว่าการสื่อสารที่แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ 2 ฝ่าย คือฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร และอีกฝ่ายทำหน้าที่เป็นผู้รับสาร โดยที่ทั้ง 2 ฝ่าย มีความเกี่ยวพันกัน นอกจากนั้นแล้วยังจะต้องมีพาหนะในการนำสารจากผู้ส่งสารไปถึงผู้รับสารด้วย พาหนะที่ว่านี้เราสามารถเรียกง่าย ๆ ว่า สื่อ นั่นเอง
การทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารนี้ หากเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีผู้เข้าร่วมทำการสื่อสารกันเพียง 2 คน แล้วล่ะก้อทั้ง 2 ฝ่ายจะทำหน้าที่สลับสับเปลี่ยนกันได้ เช่น ก. พูดคุยอยู่กับ ข. เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในวันที่ 2 มิถุนายน 2539 จากกรณีนี้ทั้ง ก. และ ข. ต่างก็ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารในเวลาที่ใกล้เคียงกัน คือ เมื่อ ก. พูด ข. ฟังก. ก็เป็นผู้ส่งสาร ข. ก็เป็นผู้รับสาร แต่เมื่อ ข. พูดโต้ตอบกลับไป ก. ก็จะเป็นฝ่ายฟังหรือผู้รับสาร แล้ว ข. ก็จะเป็นผู้พูดหรือผู้ส่งสาร ส่วนเรื่องที่ ก. และ ข. พูดคุยกันนั้น ก็คือตัวสาร (Message) และตัวพาหนะที่นำสารไปสู่ทั้ง 2 ฝ่าย ก็คือสื่อ หรือ Channel ซึ่งในที่นี้ถ้าหากเป็นการคุยกันแบบเผชิญหน้าหรือ face to face สื่อ ที่นำเสียงของผู้ส่งสารไปสู่โสตสัมผัสทางหูของผู้รับสาร ก็คือ อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวของผู้ที่ทำการสื่อสารกันนั่นเอง อากาศในที่นี้เราถือได้ว่าเป็นสื่อธรรมชาติ แต่ถ้าหากการพูดคุยระหว่าง ก. กับ ข. ไม่ได้เป็นแบบเผชิญหน้า แต่เป็นแบบ Person to Person ตัว ต่อตัว โดยเป็นการสนทนากันทางโทรศัพท์ เราก็ยังถือว่าเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลเหมือนกัน แต่พาหนะที่นำสารไปสู่ผู้ที่ทำการสื่อสารกันนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากอากาศเป็น โทรศัพท์นั่นเอง และตัวเครื่องโทรศัพท์นี่เองที่เป็นสื่อหรือช่องทางการสื่อสารที่มนุษย์ ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น ไม่ได้เป็นสื่อธรรมชาติอย่างเช่นอากาศ
ช่องทางการสื่อสาร หรือ สื่อสาร
ใน การสื่อสารใด ๆ ก็ตาม ผู้ส่งสารย่อมต้องอาศัยช่องทางหรือสื่อให้ทำหน้าที่นำสารไปยังผู้รับสาร โดยทั่วไปแล้วสารที่ถูกผู้ส่งสารถ่ายทอดไปยังผู้รับสารจะเข้าไปสู่ระบบการ รับรู้ของมนุษย์โดยผ่านประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่ง หรือหลายทาง ได้แก่ ทางการเห็น โดยประสาทตา ทางการได้ยิน โดยประสาทหูทางการได้กลิ่น โดยประสาทจมูก ทางการสัมผัส โดยประสาทกาย และทางการลิ้มรสโดยประสาทลิ้น
ถ้าพิจารณาในแง่นี้แล้ว การสื่อสารระหว่างบุคคล 2 คนที่อยู่ต่อหน้ากัน สารก็จะผ่านช่องทางเหล่านี้ไปสู่การรับรู้ของผู้กระทำการสื่อสารทั้ง 2 ฝ่าย แต่ในการสื่อสารสำหรับคนที่อยู่ห่างไกลกัน มนุษย์ไม่สามารถจะอาศัยทางติตต่อที่มนุษย์มีอยู่ได้ มนุษย์จึงได้สร้างสื่อขึ้นมาเป็นเครื่องช่วยให้การติดต่อระหว่างผู้ส่งสาร กับผู้รับสารมีความเป็นไปได้ มองในแง่นี้เราจะเห็นได้ว่า แม้คำว่า "ช่องทาง" และคำว่า "สื่อ" จะมีความหมายใกล้เคียงกัน และอาจใช้แทนกันได้ แต่แท้ที่จริงแล้วคำทั้ง 2 มีความหมายแตกต่างกัน คำว่า "ช่องทาง" หมายถึงทางซึ่งทำให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสารติดต่อกันได้ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ส่วน "สื่อ"
นั้น หมายถึงสื่อที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แสง เสียง ตลอดจนอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มนุษย์คิดขึ้น เพื่อใช้ติดต่อส่งสารไปถึงกันและกัน
การ จัดแบ่งประเภทของสื่อที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารนั้น อาจแบ่งได้หลายแบบไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว เช่น อาจแบ่งโดยใช้ลักษณะของสื่อเป็นเกณฑ์ หรืออาจแบ่งโดยใช้จำนวนและลักษณะของการเข้าถึงผู้รับสารเป็นเกณฑ์ก็ได้
ทฤษฏีของการสื่อสาร               ทฤษฎีเพื่อการสื่อสาร   เกิดขึ้นมานานก่อนที่จะมีการศึกษาในสาขาวิชานิเทศศาสตร์  เริ่มด้วยปรัชญาพุทธและปรัชญากรีก ที่ว่าด้วยการคิดและการพูด หลักวิธีการเผยแพร่ศรัทธาของศาสนาคริสต์  ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองต่าง ๆ ว่าด้วยเสรีภาพของการแสดงออกตั้งแต่ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส  ทฤษฎีทางการแพทย์และสรีรวิทยาที่ว่าด้วยประสาทกับการรับสารและสมรรถภาพในการส่งสารของมนุษย์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และจิตบำบัดของฟรอยด์  รวมไปถึงหลักและทฤษฎีต่าง ๆ ว่าด้วยภาษา สังคม และวัฒนธรรม  ล้วนแล้วแต่เป็นทฤษฎีของสาขาต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นทฤษฎีแนวปฏิบัติ  เพื่อการสื่อสารภายในบุคคล  ระหว่างบุคคล  การสื่อสารในกลุ่มหรือการสื่อสารในสังคมใหญ่  แม้แต่ภายในสาขานิเทศศาสตร์  ก่อนที่จะมีการสถาปนาเป็นสาขาการศึกษาในยุโรปและอเมริกาตอนต้นศตวรรษที่ 20 ความ รู้ที่ได้มาจากการปฏิบัติงานวิชาชีพวารสารศาสตร์ ก็ยังมีบทบาทเป็นทฤษฎีหลักเพื่อการปฏิบัติเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกาขยายไปเจริญเติบโต ที่เอเชียตะวันออก เอเชียใต้ อังกฤษ และออสเตรเลีย  ในช่วง 20 ปี ก่อนศตวรรษที่ 21
                การศึกษาทางด้านวารสารศาสตร์ที่แยกเป็นเอกเทศในระดับมหาวิทยาลัย เริ่มต้นเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยมิสซูรี่  และมหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่นิวยอร์ค  จนในปัจจุบันมีวิทยาลัยหรือภาควิชานิเทศศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 1,500 แห่ง ในประเทศไทย  เกิดขึ้นแล้วประมาณ 50 แห่ง  โดยเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  แล้วขยายออกไปสู่สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน          
ใน ตอนต้น ๆ การศึกษานิเทศก์ศาสตร์จะมุ่งเน้นในด้านการใช้ทฤษฎีเพื่อการสื่อสารมา ประยุกต์เป็นเทคนิควิธี และทักษะในการประกอบอาชีพทางด้านการสื่อสารมวลชนในระบบการเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะแบบเสรีประชาธิปไตย และระบบตลาดเสรี บนพื้นฐานลัทธิทุนนิยม
                โดยสรุปทฤษฎีเพื่อการสื่อสารก็คือ  ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (operational theory)  หรือหลักวิชาทั้งมวลในการปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร  โดย เฉพาะการสื่อสารมวลชนที่อาศัยหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และการสื่อสารธุรกิจที่มีการโฆษณา และการประชาสัมพันธ์เป็นหลักสำคัญ
วิวัฒนาการของการสื่อสาร
ใน ปัจจุบันนี้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้สะดวกมาก แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ การสื่อสารได้มีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย เชื่อกันว่าการสื่อสารระยะไกลของมนุษย์ในยุคแรกๆ น่าจะเป็นการการตีเกราะ เคาะไม้ การส่งเสียงต่อเป็นทอดๆ และการส่งสัญญาณควัน ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักวิธีการเขียนหนังสือ ก็มีการคิดวิธีการสื่อสารกัน แบบใหม่โดยการฝากข้อความไปกับนกพิราบ หรือการส่งข้อความไปกับม้าเร็ว ต่อ มาเมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้  ก็เกิดการปฏิวัติการสื่อสารขึ้นโดยมนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปหากัน  ไม่ต้องตีเกราะเคาะไม้  ไม่ต้องส่งสัญญาณควัน ไม่ต้องใช้ม้าเร็ว ไม่ต้องใช้นกพิราบ        เมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้การสื่อสารระยะไกลก็ได้มีการพัฒนาตามเทคโนโลยี ใหม่  โดยแซมมวลมอร์ส นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่คิดวิธีการสื่อสารสมัยใหม่(ในตอนนั้น)โดยการส่งสัญญาณไปตามสาย  มอร์สได้กำหนดรหัสขึ้นมาใช้ในการสื่อสาร  ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปตามสายไฟฟ้า  และกำหนดให้มีจังหวะของการไหลยาวบ้างสั้นบ้างเป็นจังหวะ    แล้วนัดหมายกับฝ่ายรับปลายทางว่ารหัสแต่ละตัวหมายถึงตัวอักษรตัวใด  การส่งสัญญาณในรูปรหัสนี้เรียกว่าการส่งโทรเลข รหัสที่ใช้ในการส่งโทรเลขเรียกว่ารหัสมอร์ส
รหัสที่มอร์สกำหนดขึ้นมาโดยใช้สัญญาณเพียงสองลักษณะเท่านั้นคือสัญญาณไฟสั้นกับ ยาว  ซึ่งจะแทนด้วย  กับ  -   ( จุด  กับ ขีด ) จุด เกิดจากการกดคันเคาะในช่วงเวลาสั้นๆ  ส่วนขีดเกิดจากการกดคันเคาะแช่ไว้เป็นเวลาที่นานกว่า มอร์สนำเอารหัสจุดกับขีดนี้มาผสมกันแล้วกำหนดเป็นรหัสสัญญาณโทรเลขของ ตัวอักษรต่างๆขึ้นมา
ประโยชน์และโทษของการสื่อสาร
1 ลดแรงงานคนในการทำงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมการผลิต และช่วยในการคำนวน
2 เพิ่มความสะดวกสะบายตั้งแต่ส่วนบุคคล จนถึงการคมนาคมและสื่อสารทั่วโลก
3 เป็นแหล่งความบันเทิง
4 ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุดชิ้น ซึ่งอิเฎลเห็นว่าเป็นการลดคุณค่าของชิ้นงาน เพราะ Handmade คืองานชิ้นเดียวในโลก
5 ลดต้นทุนการผลิต
6 ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
7 ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และ เกิดการกระจายโอกาศ
8 ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น
9 ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
10 ทำให้เกิดระบบการป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภามมากยิ่งขึ้น
11 ในกรณีของอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกการผ่อนคลายได้ตามอิสระ 

โทษของเทคโนโลยี
1 สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน จนกระทั้งน้ำ
2 เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม (อิเฎลไม่ชอบมาก ๆ)
3 ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
4 ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
5 ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat
6 หาก ใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก

รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ปัจจุบันการจัดการ ศึกษาได้ใช้หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เป็น หลักสูตรแกนกลางของประเทศ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี ปัญญาดี สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและ สากล ตลอดจนการศึกษาต่อตามความถนัดและความสนใจของตนหลักสูตรศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่ง พัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
การ จัดการศึกษาจึงควรจัดให้เหมาะสมและครอบคลุมจุดประสงค์ เพื่อที่ผู้เรียนจะได้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การจัดการเรียนรู้จึงควรจะคำนึงถึงหลายสิ่ง แต่ในที่นี้จะกล่าวเน้นไปในเรื่องของสื่อการสอน เนื่องจากสื่อการสอนถือเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยในการที่จะช่วยให้การเรียนการ สอนเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
สื่อ การสอนหมายถึง สิ่งซึ่งใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติให้แก่ผู้เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มนุษย์รู้จักนำเอาสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาให้เป็นสื่อการสอน ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 1930 เป็น ต้นมา ด้วยความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ทำให้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ตลอดจนวิธีการแปลก ๆ ถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอนกันอย่างกว้างขวาง เช่น การใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษาทั้งในระบบวงจรปิด และในระบบทางไกล หรือการใช้ชุดการสอนเพื่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล เป็นต้น
ถึง แม้จะได้มีการใช้สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ หรือคิดหาเทคนิควิธีการแปลก ๆ มาใช้เป็นสื่อการสอนกันอย่างมากมายเพียงใดก็ตาม บรรดาสื่อการสอนที่เคยถูกใช้กันมาก่อน เช่น รูปภาพ, แผนภูมิ, แผนภาพ, แผนสถิติ ฯลฯ ก็ยังคงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องช่วยในการเรียนรู้อยู่นั่นเอง
การประยุกต์ใช้การสื่อสารในการเรียนการสอน
          การ ประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์
ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา 
              เทคโนโลยี สารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มี เครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น