ลักษณะของการสืบค้นข้อมูล
Search Engine ช่วยในการค้นหาได้อย่างรวดเร็วโดยทั่วไปSearch
Engine แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหา เป็น 3 ลักษณะ คือ1. การค้นแบบนามานุกรม (Directory)
หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่ม
จะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรม
นี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ
และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว
เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com , www.lycos.com ww.sanook.com, www.siamguru.com www.hotmail.com www.thaimail.com เป็นต้น
2. การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords)เป็น การค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนี ค้นที่เรียกว่าSpider หรือ Robot หรือ Crawlerทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่แล้วนำคำที่ค้นมา
จัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ ซึ่งการค้นแบบนี้จะสามารถค้นหาเว็บเพ็จใหม่ๆและทันสมัยมากกว่าการค้นแบบ
นามานุกรมแต่ทั้งนี้การสืบค้นแบบนี้จะต้องมีเทคนิควิธีการค้นเฉพาะด้านด้วย เช่น การใช้ตรรกบูลีน (Boolean Logic)
หรือโอเปอเรเตอร์ (Operator) เป็นต้น โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มี
ความละเอียดในการจัดแยกหมวด
หมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อยเนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร
3. การค้นหาแบบ Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง
Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด)
ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
1. ทำให้สามารถบริการค้นหาและเข้าถึงข้อมูลโดยผ่าน World Wide Web (WWW) หรือ ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า เว็บ (Web)
2. สามารถบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail / Electronic mail) การสนทนาทางเครือข่าย (Chat rooms) หรือ ฟอรั่ม (Forum)
3. สามารถใช้บริการการใช้คอมพิวเตอร์ทางไกล เช่น Telnet (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2544, หน้า 5)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกย่อๆ ว่า E - Mail เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่ เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถจะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเอง
สามารถแบ่งการใช้อีเมล์ตามลักษณะของการให้บริการได้กว้างๆ 3 ลักษณะคือ
• อีเมล์สำนักงาน – เป็น บัญชีการใช้บริการรับ/ส่งอีเมล์ที่หน่วยงาน หรือสำนักงานของผู้ใช้เป็นผู้จัดทำและให้บริการ มีจุดเด่นคือ บ่งชี้ถึงหน่วยงานสังกัดของผู้ใช้ เช่น อีเมล์ของบุคลากรในเนคเทค จะอยู่ในรูปของ ชื่อบุคคล @nectec.or.th ทำให้ทราบได้ทันทีว่าบุคคลนั้นๆ อยู่ในหน่วยงานใด
• อีเมล์โดย ISP – ผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตหลายท่าน คงไม่มีอีเมล์ที่จัดให้บริการโดยสำนักงาน เนื่องจากความไม่พร้อมของสำนักงานหรือหน่วยงานที่ต้นสังกัด ทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ เมื่อผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตจาก ISP ส่วนมาก ISP ก็จะให้บริการอีเมล์ด้วยเสมอ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถมีอีเมล์ที่ให้บริการโดย ISP เพื่อใช้งานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอีเมล์แบบนี้ มักจะมีจุดอ่อน คือ
ความหมายของ E-mail (อีเมล์) และส่วนประกอบของอีเมล์
คำ ว่า E-mail (อีเมล์) หมายถึง จดหมายอิเลคทรอนิกส์ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันในอินเตอร์เน็ต ซึ่งก่อนที่คุณจะมีอีเมล์ใช้นั้นคุณจะต้องมี E-mail Address (ที่อยู่อีเมล์)ของตัวเองเสียก่อน ถ้าคุณใช้บริการอินเตอร์เน็ตโดยการสมัครเป็นสมาชิกโดยตรงกับ ISP (ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต)
คุณ ก็จะได้รับแจ้งที่อยู่อีเมล์ของตัวเองตั้งแต่สมัครสมาชิกเลยแต่ถ้า ISP ไม่ได้ให้มานักเรียน ก็สามารถมีที่อยู่อีเมล์ได้โดยขอได้ฟรีจากผู้ให้บริการอีเมล์ในอินเตอร์เน็ต ทั้งที่ฟรีและไม่ฟรี
ประเภทของห้องสมุด
การแบ่งประเภทของห้องสมุด ตามลักษณะและวัตถุประสงค์ที่ให้บริการ จำแนกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ห้อง สมุดโรงเรียน เป็น ห้องสมุดที่ตั้งขึ้นในโรงเรียนทั้งในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อสนองความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน นอกจากนี้ยังช่วยสร้างเสริมนิสัยรักการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้แก่นักเรียน เพื่อเป็นรากฐานในการใช้ห้องสมุดอื่นๆต่อไป
2. ห้อง สมุดมหาวิทยาลัย เป็น ห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษา ให้บริการทางวิชาการแก่นิสิต นักศึกษา และอาจารย์ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัย ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทที่รวบรวมไว้ในห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีความทันสมัยและสอดคล้องกับหลักสูตรการสอน การวิจัยและกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละสถาบัน
ห้องสมุดเฉพาะ เป็น ห้องสมุดของหน่วยงานราชการ บริษัท สมาคม ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศต่างๆ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีเนื้อหาเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง และสาขาวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ซึ่งเป็นบุคลากรที่สังกัดหน่วยงานนั้น เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ห้องสมุดประชาชน เป็น ห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแก่ประชาชนในท้องถิ่นโดยไม่จำกัดวัย ระดับความรู้ เชื้อชาติและศาสนา เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแต่ละแห่ง เป็นการส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตลอดชีวิตของประชาชนในชุมชน
อสมุด แห่งชาติ เป็น แหล่งรวบรวมและเก็บรักษาสิ่งพิมพ์ ที่พิมพ์ขึ้นภายในประเทศไว้อย่างสมบูรณ์ และอนุรักษ์ให้คงทนถาวร เพื่อให้บริการศึกษาค้นคว้าแก่ประชาชนทั่วไป หอสมุดแห่งชาติจะต้องได้รับสิ่งพิมพ์ทุกเล่ม ที่พิมพ์ขึ้นภายในประเทศตามพระราชบัญญัติการพิมพ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น